ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา หาด, มะหาด
หาด, มะหาด
Artocarpus lakoocha Roxb. (Syn. Artocarpus lacucha Roxb. ex Buch.-Ham.)
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Moraceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (Syn. Artocarpus lacucha Roxb. ex Buch.-Ham.)
 
  ชื่อไทย หาด, มะหาด
 
  ชื่อท้องถิ่น แผละหาด(ลั้วะ), ตุ๊ดทรี๊ก(ขมุ), พือคาเบะ(กะเหรี่ยง), เพี๊ยะหาด(ลั้วะ) ลำหาด(ลั้วะ), เป้ล้าง(ม้ง) - กาแย ตาแป ตาแปง (มลายู-นราธิวาส) มะหาด (ภาคใต้) มะหาดใบใหญ่ (ตรัง) [7]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูงราว 15 – 20 เมตร ลักษณะของลำต้นตั้งตรง ผิวเปลือกนอกค่อนข้างขรุขระแตกเป็นรอยสะเก็ดเล็ก ๆ มีสีน้ำตาลดำ หรือเป็นสีเทาแกมน้ำตาล และบริเวณเปลือกของลำต้นมักจะมีรอยแตกและมียางไหลซึมออกมา แห้งติด
ใบ มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ใบเป็นรูปไข่หรือรูปยาวรี ปลายใบแหลม ส่วนโคนใบเว้ามน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2 – 8 นิ้ว ยาวประมาณ 4 – 12 นิ้ว ใบอ่อนมีขนแต่พอแก่ขึ้นขนนั้นก็จะหลุดไปทำให้ใบเกลี้ยงเรียบ
ดอก ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆ ตามบริเวณง่ามใบ มีสีเหลือง ดอกช่อหนึ่งจะมีทั้งดอกเพศผู้และเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ลักษณะของดอกเพศเมียกลีบดอกเป็นรูปค่อนข้างกลมมน โคนกลีบดอกเชื่อติดกันเป็นหลอด และลักษณะของดอกเพศผู้กลีบเป็นรูปขอบขนาน ปลายกลีบหยัก กลีบดอกยาวประมาณ 0.5 – 1 ซม.
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 – 8 ซม. เปลือกนอกมีผิวขรุขระ เนื้อผลค่อนข้างนุ่ม ผลอ่อนมีเป็นสีเขียว แต่พอแต่หรือสุกเต็มที่มีเป็นสีเหลืองส้ม[1]
 
  ใบ ใบ มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ใบเป็นรูปไข่หรือรูปยาวรี ปลายใบแหลม ส่วนโคนใบเว้ามน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2 – 8 นิ้ว ยาวประมาณ 4 – 12 นิ้ว ใบอ่อนมีขนแต่พอแก่ขึ้นขนนั้นก็จะหลุดไปทำให้ใบเกลี้ยงเรียบ
 
  ดอก ดอก ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆ ตามบริเวณง่ามใบ มีสีเหลือง ดอกช่อหนึ่งจะมีทั้งดอกเพศผู้และเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ลักษณะของดอกเพศเมียกลีบดอกเป็นรูปค่อนข้างกลมมน โคนกลีบดอกเชื่อติดกันเป็นหลอด และลักษณะของดอกเพศผู้กลีบเป็นรูปขอบขนาน ปลายกลีบหยัก กลีบดอกยาวประมาณ 0.5 – 1 ซม.
 
  ผล ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 – 8 ซม. เปลือกนอกมีผิวขรุขระ เนื้อผลค่อนข้างนุ่ม ผลอ่อนมีเป็นสีเขียว แต่พอแต่หรือสุกเต็มที่มีเป็นสีเหลืองส้ม
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - เปลือกต้นและเปลือกราก ตากแห้งแล้วใช้เคี้ยวกับหมาก(ลั้วะ)
เปลือกต้น ทุบแล้วตากแห้งใช้เคี้ยวกินกับหมาก(ขมุ)
เปลือกต้น ตากให้แห้ง แล้วนำไปเคี้ยวกินกับหมาก(กะเหรี่ยง,ลั้วะ)
ผลสุก รับประทานได้, ใบอ่อน นึ่งเป็นผักจิ้มน้ำพริก (ม้ง)
ผลสุก รับประทานได้(ขมุ,กะเหรี่ยง)
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน(ขมุ)
- ใบ ใช้แทนกระดาษทราย(กะเหรี่ยง)
- เปลือกลำต้น ใช้เปลือกสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้หรือยาขับพยาธิ เป็นต้น
แก่นไม้ ใช้แก่นไม้สด นำมาหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำเคี่ยวให้เป็นฟอง จากนั้นช้อนฟองออกมาตากแดดให้แห้ง แล้วบดให้เป็นผงละเอียดใช้ชงกินกับน้ำเย็น เป็นยาช่วยขับพยาธิตัวตืดและไส้เดือน แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้โรคกระษัย แก้เบื่ออาหาร แก้กระหายน้ำ แก้ฝีในท้อง แก้ปวด แก้ลม ขับโลหิต แก้เคือง และแก้ปัสสาวะกะปริดกะปรอย เป็นต้น
ราก ใช้รากสดหรือแห้งนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้แก้พิษร้อนใน แก้กระษัยในเส้นเอ็น และช่วยขับพยาธิ[1]
- ยาง เมล็ด เป็นยาถ่าย เปลือก เป็นยาฝาดสมาน ราก เป็นยาบำรุงและมีฤทธิ์บรรเทาการอุดตัน ใบ แก้โรคบวมน้ำ [7]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[7] ก่องกานดา ชยามฤต, 2540. สมุนไพรไทยตอนที่ 6 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง